วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

เลคตินโปรตีนในระบบภูมิคุ้มกัน (Lectin, protein in immune defense))

เลคติน

เลคติน (lectin) เป็นโปรตีนหรือไกลโคโปรตีนที่มีบริเวณที่สามารถจับกับคาร์โบไฮเดรตได้อย่างน้อย 2 บริเวณ ดังนั้นจึงสามารถทำให้เซลล์เม็ดเลือดหรือเซลล์แบคทีเรียเกิดการเกาะกลุ่มได้ หน้าที่ของเลคตินในระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ทะเลไม่กระดูกสันหลังหลายชนิดมีการศึกษาพบว่าสามารถเหนี่ยวนำเซลล์เม็ดเลือดให้เกิดกระบวนการ phagocytosis เมื่อมีเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ตัวสัตว์

การทดสอบความสามารถในการทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่ม

การวิเคราะห์ทำในแผ่นไมโครไตเตอร์ (microtiter plate) ชนิด 8X12 หลุม ลักษณะก้นหลุมเป็นรูปตัววี มีความจุหลุมละ 300 ไมโครลิตร ตามขั้นตอนดังนี้ เติมสารละลาย 0.85% NaCl ลงไปทุกหลุมหลุมละ 50 ไมโครลิตร ปิเปตน้ำเลือดหอยนางรมปากจีบและหอยตะโกรมกรามดำ ปริมาตร 50 ไมโครลิตร ผสมลงในหลุมที่หนึ่ง ปิเปตสารละลายจากหลุมที่หนึ่งมา 50 ไมโครลิตร ผสมในหลุมที่สองปิเปตสารละลายในหลุมที่สองขึ้นมา 50 ไมโครลิตร ผสมในหลุมที่สาม ทำดังนี้เป็นลำดับตั้งแต่หลุมบนซ้ายไปขวา (A1 ถึง B12) และจากบนลงล่างสรุปขณะนี้ทุกหลุมมีเลคตินที่เจือจางต่างกันในปริมาตร 50 ไมโครลิตร จำนวน 24 หลุม จากนั้นเติม 2% เม็ดเลือดแดงลงในทุกหลุม ๆ ละ 50 ไมโครลิตร ทำการทดสอบดังนี้ 3 ชุด แล้วตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จึงสังเกตการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดงและบันทึกผล หลุมที่เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มจะเห็นสีแดงแผ่กระจายเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่ก้นหลุม ส่วนหลุมที่เม็ดเลือดแดงไม่เกาะกลุ่มจะเห็น สีแดงกองรวมเป็นจุดเล็ก ๆ อยู่กลางก้นหลุม และนับจำนวนหลุมทั้งหมดที่เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกัน การคำนวณปริมาณเลคติน จากผลการทดสอบความสามารถในการทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มหาปริมาณเลคติน อย่างคร่าวๆ ได้จากค่าการเจือจางมากที่สุดที่เลคตินยังสามารถทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มมีค่าเป็น 2n เมื่อ n คือ จำนวนหลุมที่เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่ม ตัวอย่างเช่น จากรูสิ่งสกัดจากสาหร่ายทะเลสามารถทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มถึงหลุมที่ 7 จึงมีปริมาณเลคตินเท่ากับ 27 หรือเท่ากับ 128 ไตเตอร์ต่อปริมาตรสิ่งสกัดได้ 50 ไมโครลิตร หรือ 2,560 ไตเตอร์/มิลลิลิตร

Lectin

Lectins are antibody-like molecules and have multivalent by bearing at least two sugar-binding sites but have no enzymatic activity (Goldstein, 1980; Kocorek and Hořejši, 1981). Detection of lectin activity Lectins have been isolated from various biological sources. They occur in viruses and bacteria to vertebrates and probably in all living organisms. Lectins have been isolated and characterized in various marine invertebrates, including sponges (Pajic et al., 2002), tunicates (Nair et al., 2000), crustaceans (Ravindranath et al., 1985; Vazquez et al., 1993), echinoderms (Giga et al., 1987; Matsui et al., 1994) and clam (Bulgakov et al., 2004). Although the first invertebrate lectin reported was identified in extracts of snail albumin gland, the early work was done using body fluids or secretions, such as hemolymph, coelomic and seminal fluids and mucus, or whole body extracts obtained by the use of blenders, mortars and presses. Then, the solutions were assayed for lectin activity. Agglutination of mammalian or animal erythrocytes is the most commonly used method of detecting the presence of lectin extract solution with untreated or enzyme-treated erythrocytes or precipitation reactions with glycoproteins and polysaccharides. Hemagglutination is generally performed in 96 wells microtiter plates, usually at room temperature, in volumes of 50 μl/well, using a panel of erythrocytes, untreated or enzyme-treated, representing as many vertebrate species as possible. The lectin extract is a two-fold serial dilution in saline or physiological buffer before incubate with 0.5-2% erythrocytes (Vasta and Ahmed, 1995). Activity is expressed as an agglutination titer which is defined as the reciprocal of the highest dilution of the lectin that gives visible agglutination.

การทดสอบความสามารถในการทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่ม (Hemagglutination assay)


วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

การเรียนรู้ด้วยตนเอง-ค่ายทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เริ่มต้นให้ความรู้เด้กๆ อีกครั้งหนึ่งกับค่ายทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์



ช่วงเดือนเมษายน 2552 ครั้งจัดเป็นครั้งที่ 7 แล้ว ยังมีน้องๆ ให้ความสนใจเหมือนเดิม
น้องๆ กำลังตรวจดูรายชื่อ และลงทะเบียนกัน แล้วก็รับแฟ้มไปคนละเล่ม
ในแฟ้มมี.......



-ข้อมูลของฉัน
-กิจกรรมบูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-กิจกรรมรู้จักกับโครงงานวิทยาศาสตร์
-กิจกรรมโครงงานสำรวจ
-กิจกรรมโครงงานประดิษฐ์และทดลอง






ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยบูรพา ดร. ฉลอง ทับศรี กล่าวเปิดงาน




อันนี้ก็สนใจกันอย่างเต็มที่....จะได้เป็นนักวิทยาศาสตร์คนเก่ง